จังหวัด

เชียงราย

โครงการเที่ยวทิพย์ท่องไทยไปกับโลกไซเบอร์

ประวัติจังหวัดเชียงราย

    เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ จังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง ประเทศไทย ประเทศพม่าและประเทศลาวหรือ รู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ   ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มี จำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ สร้างรายได้ให้กับ จังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท

สภาพภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดเชียงรายมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาว ทางตอนเหนือและตะวันออกจังหวัดพะเยาและ จังหวัดลำปาง ทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศตะวันตก

สภาพภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่ มีภูมิประเทศเป็น เทือกเขาสูงประมาณ 1,500 – 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในทวีปตอนเหนือ มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มน้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของมีความสูงประมาณ 410 – 580 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ

คำแนะนำในการเที่ยวเชียงราย

ในช่วงกลางเดือน ต.ค. – พ.ย. จะเป็นช่วงที่ภูชี้ฟ้ามีโอกาสเกิดทะเลหมอกได้มากที่สุด ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพลมและความใสของท้องฟ้า ถ้าคืนวัน ไหนท้องฟ้าแจ่มไร้เมฆ ลมนิ่ง วันนั้นทะเลหมอกจะเยอะมาก แต่ถ้าคืนไหนเมฆเยอะ ลมแรง ทะเลหมอกก็มีน้อย

สถาปัตยกรรม

เชียงราย

วัดร่องขุ่น

ออกแบบและสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีการผสานวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ความงดงามของอุโบสถสีขาวประดับด้วยกระจกสีเงินแวววาว และลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามประณีตที่เห็นแล้วต้องตะลึง

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

สร้างโดยอ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ลักษณะบ้านเป็นกลุ่มบ้านแบบล้านนา ทุกหลังทาด้วยสีดำเป็นที่มาของ“บ้านดำ” ในแต่ละหลังประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายงดงามเขาสัตว์ เช่น เขาควาย เขากวางและกระดูกสัตว์ต่างๆ บริเวณบ้านเต็มไปด้วยต้นไม้ บรรยากาศร่มเย็นสบาย บ้านดำประกอบไปด้วยบ้านทั้งหมด 36 หลังที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งมีหลังที่ยังสร้างไม่เสร็จคือพิพิธภัณฑ์ที่ใช้แสดงผลงานของอ.ถวัลย์สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังมีลวดลายแกะสลักที่ สวยงามนับว่าเป็นสถานที่หนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์และศิลปะแบบล้านนาที่ทรงคุณค่าและควรอนุรักษ์ในจังหวัดเชียงราย

วัดร่องเสือเต้น

เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสวยงามทางพุทธศิลป์โดยเกิดจากการสร้างสรรค์ของศิลปินชาวบ้าน คือ นายพุทธากาบแก้ว หรือ สล่านกเป็นศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงรายที่มีโอกาสเข้าไปศึกษา และเป็นลูกศิษย์อาจารย์เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ในการสร้างวัดร่องขุ่นจนมีโอกาสได้มาสร้าง วิหารวัดร่องเสือเต้นจนเป็นวัดที่มีความสวยงามและเป็นสถานที่เที่ยวของคนไทยและชาวต่าง ชาติโดยเฉพาะชาวจีนจุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ วิหารร่องเสือเต้น  ซึ่งมีความโดดเด่นของวิหาร ที่มีศิลปะของตัววิหารที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นศิลปะแนวประยุกต์โดยใช้โทนสีน้ำเงินและสีฟ้าเป็นหลัก พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ และภาพเขียนฝาผนังที่มีความงดงาม อ่อนช้อย

ดอยดินแดง

ก่อตั้งโดยอาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินเซรามิกระดับนานาชาติโดยอาจารย์ได้ไปศึกษาการปั้นเครื่องปั้นดินเผาจากญี่ปุ่นและกลับมาสร้างที่นี่ขึ้นจุดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาที่นี่ก็คือ การใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติภายในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์การใช้งาน และคุณค่าทางศิลปะโดยเฉพาะสีและผิวของเครื่องปั้นดินเผาจะมีความโดดเด่นและกลิ่นอายในแบบวิถีเซนของญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์ในแต่ละชิ้นทำให้เครื่องปั้นดินเผาของที่นี่เป็นงานศิลปะ ร่วมสมัยอีกความสวยงามที่เราได้สัมผัสในวันฝนตกแบบนี้ก็คือมอสสีเขียวที่ขึ้นอยู่ตามมุมต่างๆของพิพิธภัณฑ์ และโรงปั้น ทำให้เพิ่มบรรยากาศของธรรมชาติที่สดชื่นไปอีก

อาหาร

เชียงราย

ข้าวซอย

ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนยูนนานหรือฮ่อมีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน มีเครื่องเคียง ได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง ยำกะหล่ำปลีและมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน บางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ

แกงฮังเล

แกงฮังเล เมนูอาหารพื้นเมืองของคนภาคเหนือ โดยสามารถกินได้ที่ภาคเหนือเป็นเมนูที่หากินได้เฉพาะภาคเท่านั้นโดยมีส่วนผสมหลักคือหมูละเครื่องแกงในการทำแกงฮังเลให้ต้อง หมูนุ่ม เปรี้ยวนำ เวลาได้กินกับข้าวสวยร้อนๆ นี่เป็นเวลาที่มีความสุขที่สุดเลย

น้ำเงี้ยว

น้ำเงี้ยว หรือ น้ำงิ้ว เป็นอาหารภาคเหนือของประเทศไทย เป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแข็บย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง บางสูตรใส่เต้าเจี้ยว ชาวไทใหญ่ เรียกอาหารชนิดนี้ว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม

ศิลปะวัฒนธรรม

เชียงราย

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับโดยจัดขึ้น ตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 10 จนไปถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 11 ที่มาของประเพณี ตานก๋วยสลากมาจากมีนางยักตนหนึ่งมักทำร้ายและเบียดผู้อื่นอยู่เสมอ แต่เมื่อได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางยักตนนี้ก็เกิดความ เลื่อมใสและกลายเป็นนางยักที่โอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้อื่น จนชาวบ้านซาบซึ่ง ในความดีจึงนำของมาให้นางยักจำนวนมาก

งานลิ้นจี่เชียงราย

งานลิ้นจี่เชียงรายของดีเมืองเชียงรายจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากเป็นช่วงที่ลิ้นจี่ออกผล ในงานมีการจำหน่าย ลิ้นจี่และพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ จากชาวสวนในท้องถิ่น และมีการประกวดธิดาลิ้นจี่ด้วย โดยจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่รวมกัน ทั้งจังหวัดประมาณ 32,000 ไร่ ให้ผลผลิตรวมกันปีละประมาณ 60,000 ตัน โดยจะให้ผลผลิตตั้งแต่เดือน พ.ค.-มิ.ย.ปีละเพียงประมาณ 1 เดือน

งานลิ้จุดบ้องไฟ (จิบอกไฟ)

จิบอกไฟ หรือการจุดบั้งไฟ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนา เป็นการสักการะบูชาพระเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และเป็นประเพณีที่สร้างความสนุกสนานให้กับชุมชนล้านนา ประเพณีจิบอกไฟนิยมจัดในงานเทศกาลต่างๆ